ลวดหนามมี 2 แบบ
ลวดหนาม ที่เราพอจะนึกออกและเคยเห็น มีอยู่ 2 ประเภทที่เห็นได้ชัดๆ คือ
- ลวดหนามล้อมบ้านทั่วไป
- ลวดหนามหีบเพลง
1. ลวดหนามล้อมบ้านทั่วไป
ลวดหนามประเภทนี้ก็คือลวดหนามล้อมที่ดิน ล้อมบ้าน ล้อมส้วน ล้อมที่ดินทั่วไปของเรานั่นเอง โดยมากจะแบ่ง ตามลักษณะของปมหนาม หรือ รูปแบบวิธี หรือ คุณภาพการพันนั่นเอง
1.1 ลักษณะของหนามปมลวดหนาม
ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันปมหนามอยู่ 2 แบบ คือ
1.1.1 การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)
เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต ตัวอย่างมีให้เห็นตามทั่วไป (ตามรูปด้านล่าง)
รูปตัวอย่าง: การพันเกลียวหนามแบบเก่า ซึ่งการพันเกลียวหนามแบบเก่านี้มักจะพบมากในลวดหนามธรรมดาทั่วไปในท้องตลาดนั่นเอง
-
- ลวดหนามทั่วไป
ลวดหนามประเภทนี้เราผมเห็นกันได้มากตามพื้นที่ทั่วไป เส้นลวดมักมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับลวดหนามประเภทอื่น แต่ค่อนข้างหาซื้อได้ง่าย ซึ่งมีข้อดีคือเป็นลวดหนามที่ราคาถูก มักขายเป็น ชั่งกิโลขาย ข้อเสียหนึ่ง คือเมื่อเป็นการชั่งกิโลขาย 5 กิโลบ้าง 10 กิโลบ้างจะ ทำให้ความยาวลวดแต่ละม้วน จะไม่เท่ากันเป็นเหตุผลให้การทำงานยากมากขึ้น เนื่องจากการที่ต้องทำการต่อลวดหลายรอบ
รูปตัวอย่าง: ลวดหนามทั่วไปขึ้นสนิม
อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอกับการล้อมรั้วลวดหนามคือ ขึ้นสนิมง่าย เพราะลวดหนามทั่วไป จะเป็นการชุบแบบไฟฟ้า (Electroplating) ซึ่งการชุบซิงค์แบบนี้ปริมาณซิงค์ที่ชุบค่อนข้างที่บางมาก ๆ ทำให้อายุการใช้งานของลวดหนามทั่วไปเกิดสนิมเร็ว ประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เริ่มขึ้นสนิมแล้ว หรือจะเป็นปัญหาล้อมรั้วลวดหนามทั่วไปจะขาดง่าย ขึงไม่ตึง หย่อน รวมถึงตัวเกลียวหนาม ที่ถักมาไม่แน่นทำให้เป็นสาเหตุของลวดหนามไม่ตึง และหย่อนง่าย ซึ่งถ้าสังเกตการล้อมรั้วลวดหนามทั่วไปที่ติดตั้งตามท้องตลาด ติดตั้งไปได้ 1-2 เดือน รั้วลวดหนามทั่วไปจะเริ่มหย่อนเป็นท้องช้าง ไม่สวยงาม หรือเห็นรั้วลวดหนามขาดเป็นบางช่วง ทำให้เปลืองงบประมาณในการซื้อลวดหนามมาติดตั้งใหม่ เสียทั้งเวลา เสียทั้งค่าแรง
1.1.2 การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)
เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูฯ ก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน (ตามรูปด้านล่าง)
รูปตัวอย่าง: การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)
การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist) ลวดหนามประเภทนี้พบมากใน ลวดหนามที่ผลิตโดยนวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ ที่พบมากในลวดหนามลวดหนามแรงดึงทนสนิม และ ลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูมิเนียมทนสนิม
ลวดหนามที่ผ่านการพันเกลียวแบบพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twisted) คือ
- ลวดหนามแรงดึงทนสนิม
- ลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูมิเนียมทนสนิม
1) ลวดหนามแรงดึงทนสนิม
เพื่อให้ปัญหาเดิม ๆ การขึ้นสนิมของรั้วลวดหนามหมดไป ซึ่งเกิดเป็นรั้วลวดหนามแรงดึงทนสนิม ด้วยวิธีการชุบซิงค์จุ่มร้อนหนาพิเศษ (Heavy Hot –dipped Galvanized ) ตามมาตรฐาน AS/NZs ออสเตรเลียพรีเมี่ยม มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี* (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการใช้งาน) การที่เราล้อมรั้วลวดหนามที่สามารถทนสนิมได้นานกว่าล้อมรั้วลวดหนามทั่วไป รั้วลวดหนามแรงดึงทนสนิมยังผลิตจากเส้นลวดแรงดึง ที่ช่วยในเรื่องของการรับแรงกระแทกได้ดีกว่า ทำให้เวลาการติดตั้งไม่หย่อนเหมือนลวดหนามทั่วไป หรือแม้กระทั่งตัวปมหนาม ทำให้เกลียวปมแน่นกว่า แข็งแรง เกลียวปมไม่หลุดง่าย รั้วลวดหนามแรงดึงทนสนิม มักมีราคากลางๆ ขายเป็นม้วนตามความยาว 50 – 100 เมตร มากกว่าการที่จะขายแบบชั่งกิโล ไม่ต้องต่อลวดบ่อย ทำงานง่ายโครงสร้างรั้วก็แข็แรง ใช้งานได้ยาวนานกว่า
การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนกันสนิม ( Hot-Dipped Galvanized)
โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสารกันสนิมหรือการชุบซิงค์ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า การชุบซิงค์มีแบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized) ซึ่งปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษขึ้นมา
2) ลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูมิเนียมทนสนิม
ลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูมิเนียมทนสนิม นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สุดในโลกของการล้อมรั้วลวดหนาม ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีคนนิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะ คุณสมบัติ ช่องทางการจัดจำหน่าย และราคา ของลวดหนามซิงค์อลู ตอบโจทย์การใช้งานและดีกว่าลวดหนามทั่วไปที่ใช้กันในปัจจุบันที่มีปัญหาเรื่องของลวดหนามเป็นสนิม ทำให้ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมลวดหนามอยู่บ่อยครั้ง ทางรั้วตาข่าย เข้าใจถึงปัญหาและค้นหาพัฒนาลวดหนามซิงค์อลูเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ลวดหนามซิงค์อลู ผลิตจาก ลวดทนแรงดึงสูงที่มีคุณสมบัติเป็นลวดกึ่งสปริง มีความแข็งแรง คงทน ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย สามารถรับแรงปะทะหรือแรงกระแทกได้สูงสุดถึง 1100-1200 นิวตัน/ตร.มม. (เทียบเป็นหน่วยปกติ รับน้ำหนักได้เฉลี่ย 285 กก.) ซึ่งจุดเด่นของการใช้ลวดแรงดึงสูงทำให้ลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูสามารถใช้เสารั้วระยะห่าง 4 เมตร โดยที่ขึงตึง ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย
นอกจากนี้ลวดหนามซิงค์อลูยังเคลือบสารกันสนิมด้วยการชุบซิงค์อลููมิเนียม 10% (ZnAl) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า สารอลูมิเนียมทนการขึ้นสนิมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นลวดหนามซิงค์อลูมีส่วนผสมของอลูมิเนียมมากถึง 10% ลงไปในการกระบวนการเคลือบสารป้องกันสนิม ตามมาตรฐาน ASTM สหรัฐอเมริกา ส่วนหนามเคลือบสีดำเพิ่มความโดดเด่น ทนสนิมมากกว่าลวดหนามชุบซิงค์ทั่วไป ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานของลวดหนามแรงดึงสูงชุบซิงค์อลูให้ยาวนานขึ้น อายุการใช้งานนาน 80 ปี*
การชุบซิงค์อลูมิเนียมป้องกันสนิม (ZnAl)
เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม (ZnAl) ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% (ZnAl 10%) เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวด ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี* และ กระบวนการเคลือบสารป้องกันสนิมควร ตามมาตรฐาน ASTM สหรัฐอเมริกา
2. ลวดหนามหีบเพลง
ลวดหนามหีบเพลง หรือ เรียกอีกชื่อว่าลวดหนามทะหาร นิยมใช้มากในพื้นที่ๆต้องการป้องกันและความปลอดภัยสูง หรือใช้เป็นเครื่องกีดขวาง หรือ ระงับฝูงชน ลวดหนามประเภทนี้พบมากใน พื้นที่ราชการ รั้วท่าเรื่อ รั้วสนามบิน รวมไปถึงรั้วล้อมค่ายทะหารบางส่วน
ลักษณะหนาม ผลิตจากลวดเหล็กแรงดึงสูง นำมาชุบสังกะสี มีชิ้นเหล็กลักษณะแหลมคมคล้ายใบมีดติดอยู่ตามเส้นแกนลวดหลักทั้งสองฝั่ง ที่ระยะห่างเท่าๆกัน ลักษณะคล้ายใบเลื่อยเรียงในระยะห่างที่เท่าๆกัน ขดม้วนเป็นวง มีความอันตรายสูง
เบอร์ลวดหนามบอกอะไรเรา
โดยทั่วไปลวดหนามในประเทศไทยคนทั่วไปมักเรียก ตามเบอร์ลวด หรือ เรียกแทนประเภทลวดหนาม เช่น ลวดหลวดหนาม เบอร์ 12, เบอร์ 13, เบอร์ 14 แต่เดี่ยวก่อนครับ มันคือขนาดลวดไม่ ความแตกต่างกันมากไปกว่า ขนาดลวด เลยครับ
หมายความว่าลวดหนาม เบอร์ #12 จะเท่ากับ ลวดหนามเส้นลวด ขนาด 2.65 มิลลิเมตร นั่นเอง
การชุบซิงค์แบบไฟฟ้ากันสนิม (Electro Galvanized)
คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic Salts) แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำโลหะ และอโลหะหลายชนิดมาทำการเคลือบผิว ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกโลหะที่จะนำมาเคลือบผิวได้หลากหลายชนิดด้วย ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน