เหมาซานคิง ทุเรียนมาเลย์ ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย

ทุเรียนเหมาซานคิง หรือ เหมาซานคิง

ทุเรียนพันธุ์นี้ ราคาแพงมาก ราคาหน้าสวน กิโลกรัมละ 300 บาท ไปจนถึง 400 บาท และที่ราคาแพงขนาดนี้ ก็คงพอจะเดากันได้ ว่ามาจากลูกค้าหลักอย่าง คนจีน ชื่นชอบรสชาติของทุเรียนพันธุ์นี้ มาก ราคาขายที่ประเทศจีนเขาบอกกันว่า สูงถึงกิโลกรัม 2,000 บาทถึง 3,000 บาท เลยทีเดียว
โดยที่มาของทุเรียนมูซังคิงส์ หรือ เหมาซานคิง และคนยะลา เรียก เหมาซานหว่อง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียได้พัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์นี้ขึ้นมา เมื่อ 15 ปีก่อนหน้านี้ และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายที่ประเทศมาเลเซีย แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค เพราะประเทศมาเลเซียมีฝนตกชุกทำให้ทุเรียนออกผลน้อย แค่ขายในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ก็ยังไม่เพียงพอ โดยราคาทุเรียนเหมาซานคิง ในมาเลเซียราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 800 บาท
เนื้อเหนียว ละเอียด และเนื้อเยอะ

สำหรับลักษณะของทุเรียนเหมาซานคิง นี้ รูปทรงจะคล้ายหยดน้ำ ตูดจะมี 5ดาว ผลเว้านิดหน่อย และบริเวณก้านเหมือนมงกุฎ ส่วนรสชาติจะหวาน และเนื้อสัมผัสจะเหนียวเนื้อละเอียด เมล็ดรีบ ให้เนื้อเยอะ ลูกจะไม่ใหญ่มาก น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม เนื้อทุเรียนจะเหลืองนวลเมื่อสุกมากจะมี่รสขมนิดหน่อย ถ้าเปรียบเทียบกับทุเรียนไทย จะคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ พวงมณี แต่พวงมณี เมล็ดใหญ่ และลูกจะเล็กกว่า

ส่วนการเข้ามาของทุเรียนเหมาซานคิง ในประเทศไทย เริ่มมาจากพื้นที่ทางใต้ ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับมาเลเซีย การไปมาหาสู่กัน ทำให้มีเกษตรกรในพื้นที่ได้ไปซื้อกิ่งพันธุ์ มาปลูก ปัจจุบันที่จังหวัดยะลา มีการปลูกทุเรียนเหมาซานคิง จำนวนมากถึงกว่า 1,600 ไร่ ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เคยปลูกส้มโชกุน และส้มราคาตก เลยหันมาปลูกทุเรียนสายพันธุ์นี้แทน ด้วยพื้นที่อยู่ในเทือกเขาที่ความสุงเหมือนกัน ผลผลิตที่จั้งหวัดยะลา ออกมาใกล้เคียงกับที่มาเลเซีย ซึ่งผลผลิตเริ่มเก็บออกจำหน่ายครั้งแรก ในช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา (2560) โดยใช้ระยะเวลาในการปลูก 4-5 ปี เป็นทุเรียนพันธุ์เบา คือ แก่เร็ว กว่าหมอนทองที่ต้องใช้เวลา 90-100 วัน และผลผลิตที่ได้เกือบทั้งหมด ได้ถูกส่งไปขายยังประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ความยากในการทำตลาดของทุเรียน เหมาซานคิง มาจากราคาที่สูง ทำให้กลุ่มลูกค้าค่อนข้างแคบ อยู่ในกลุ่มของคนที่มีกำลังซื้อ ในอนาคต ถ้ามีผลผลิตออกมามาก ราคาถูกลง เชื่อว่าทุเรียนพันธุ์นี้ น่าจะได้รับความนิยม แต่ยังพอเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในตลาดทุเรียน คาดว่าในปี 64-66 จะมีผลผลิตที่จะออกมาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก เริ่มมีเกษตรกรนำมาปลูกกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไร จากทุเรียน สายพันธุ์นี้

 

ตะกร้าสินค้า