6 เทคนิค ทำคอกแพะอย่างไรให้ได้มาตรฐานที่ดี แพะมีความสุข

แพะ ถือเป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สามารถเลี้ยงได้หลากหลายสายพันธ์ุ  หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผูกล่าม เลี้ยงแบบปล่อย หรือเลี้ยงแบบขังคอก โดยในการเลี้ยงแพะสามารถเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช หรือเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารเอง แต่ก็ต้องระมัดระวังสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป หรือฝนตกก็อาจะทำให้แพะป่วยได้ง่าย ซึ่งในประเทศไทยนิยมเลี้ยงแพะในคอกที่ได้มาตรฐาน ดูแลได้ง่ายกว่า

วิธีการเลี้ยงแพะ

  • เลี้ยงแบบผูกล่าม: เพื่อให้แพะสามารถกินหญ้าบริเวณรอบที่ผูก โดยมีน้ำ และแร่ธาตุให้แพะกินตลอดเวลากลางคืน โดยใช้เชือกยาวประมาณ 5-10 เมตร มีเพิงหลบฝน และผูกล่ามบริเวณที่มีร่มเงา เมื่อฝนตกควรนำแพะกลับเข้าคอกเพื่อป้องกันการป่วย

  • เลี้ยงแบบปล่อย: เพื่อให้แพะหากินในเวลากลางวัน เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้แพะหลุดออกนอกฝูง และกินพืชเกษตร ไม่ควรปล่อยให้หากินเวลาที่แดดร้อนจัด

  • เลี้ยงแบบขังคอก: เป็นการขังแพะไว้คอกรอบๆ อาจจะมีแปลงหญ้า รั้วรอบ พร้อมน้ำ วิธีนี้มักจะประหยัดพื้นที่ที่สุด ใช้การลงทุนสูง แต่เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อแพะมากที่สุด

  • เลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช: เป็นการผสมผสานการเลี้ยงทั้ง 3 แบบ เข้าด้วยกัน โดยเลี้ยงแพะและปลูกพืชผสมผสานกัน เช่น ยางพารา ปาล์ม มะพร้าว เป็นต้น วิธีนี้เป็นทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

การป้องกันโรคแพะ

โรคพยาธิ

ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน โดยใช้ยาถ่ายพยาธิที่จำหน่ายทั่วไปทั้งแบบกรอก และแบบฉีด

โรคแท้งติดต่อ

ในแพะมักเกิดจากเชื้อ Brucella melitensis คนก็สามารถติดโรคนี้ได้จากการบริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม เข่น ครีม เนย ที่ได้จากแพะที่เป็นโรคและไม่ได้ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน

อาการ

แพะเกิดการแท้งลูกหรือคลอดลูกที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงออกมาและมักจะมีน้ำเมือกไหลมาจากช่องคลอดนานเป็นเวลา 23 สัปดาห์ เดินกะโผลกกะผลก เต้านมอักเสบ น้ำหนักลด ขนแห้งและเป็นหมัน

การติดต่อ

โดยการสืบพันธุ์ การเลียอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวอื่น การกินอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนอยู่ เชื้อนี้จะมีในน้ำเมือกสัตว์ ปัสสาวะ และซากลูกสัตว์ที่แท้งออกมา ***ควรกำจัดทำลายหากตรวจพบตัวที่เป็นโรคในฟาร์ม

โรคมงคล่อเทียม หรือโรคเมลิออยโดซีส

ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น สามารถติดคนและสัตว์ได้

อาการ

ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดตามตัว และมีอาการทางระบบหายใจ รวมทั้งมีใช้ ไอ บางครั้งมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีแผลหลุมในช่องจมูก มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและ อาจตายได้หากไม่ได้รับการรักษา

การติดต่อ

จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง การหายใจ หรือการกิน อาหารหรือน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อ และสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสเลือด หรือของเหลวจากร่างกาย (ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก น้ำนม) ของคน หรือสัตว์ที่ติดเชื้อ ***ควรกำจัดทำลายหากตรวจพบตัวที่เป็นโรคในฟาร์ม

องค์ประกอบ และเทคนิคการทำคอกแพะให้ได้มาตรฐานที่ดี

1. เทคนิคการเลือกพื้นที่ตั้งคอก

พื้นที่ตั้งคอกแพะ ควรอยู่บริเวณที่ราบสูง ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือหากอยู่ในที่ลุ่มควรสร้างโรงเรือนให้สูงจากพื้นดิน โดยสร้างทางเดินขึ้น-ลงของแพะในระดับทางลาด ไม่เกินกว่า 45 องศา เพื่อให้แพะเดินได้สะดวก

2. เทคนิคการทำพื้นคอก

พื้นคอกควรทำพื้นเป็นร่อง โดยใช้ไม้หน้า ขนาด 1×2 นิ้ว โดยวางห่างกัน 1.5 เซนติเมตร หรือใช้พื้นคอนกรีตที่ปูด้วยแสลต เพื่อให้มูลของแพะตกลงด้านล่างให้พื้นคอกแห้งและสะอาดอยู่เสมอ

3. เทคนิคการทำผนังคอก

ผนังคอกแพะควรปลอดโปร่ง ให้อากาศถ่ายเทได้ดี โดยสร้างขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดข้ามออกไปได้

4. เทคนิคการทำหลังคา

การทำหลังคาสามารถทำได้หลากหลายแบบ ทั้งเพิงหมาแหงน และหน้าจั่ว การเลือกทำหลังคาควรเลือกทำตามสภาพภูมิอากาศและต้นทุน โดยสร้างหลังคาที่ความสูง 2 เมตรจากพื้นคอก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ร้อนจนเกินไป มุงหลังคาด้วยจาก แฝก หรือสังกะสีก็ได้เช่นกัน

5. เทคนิคทำรั้ว

ควรทำรั้วคอกแพะ ออกนอกจากตัวอาคารโรงเรือน เพื่อให้แพะมีพื้นที่ในการเดิน รั้วควรเป็นรั้วลวดตาข่ายหรือไม้ไผ่ในระยะ 3-4 เมตร และปักเสาเพื่อยึดให้รั้วแข็งแรง หรือใช้การปลูกระถินปนกับใช้ไม้ไผ่จะทำให้รั้วไม้ไผ่คงทน และใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น

6. เทคนิคสร้างพื้นที่ให้แพะ

แพะมีความต้องการในการอยู่อาศัยที่ 1 ตัวต่อ 1 ตร.ม. จึงควรแบ่งคอกภายในโรงเรือนออกเป็นคอกละ 10 ตัว 10 ตร.ม. โดยทำการคัดขนาดของแพะให้ใกล้เคียงกันไว้ในคอกเดียวกัน

ตะกร้าสินค้า