โคกหนองนา ศาสตร์แห่งความยั่งยืน

โคกหนองนา คืออะไร?

การจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการทำเกษตร ผสมผสานกับเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมให้สอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งโคก หนอง นา โมเดลอาศัยการจัดการตัวเองของธรรมชาติ โดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้สำเร็จเร็วขึ้น

ประโยชน์ของโคกหนองนาโมเดล?

ช่วยให้ประหยัดมากขึ้น เพราะสามารถปลูกพืชต่างๆไว้ครอบคลุมการใช้สอยทุกปัจจัย และช่วยลดปัญหาน้ำท่วม และแห้งแล้งภายในพื้นที่อีกด้วย

องค์ประกอบของโคกหนองนา มีอะไรบ้าง?

1. โคก

โคกเป็นพื้นที่สูงที่ได้จากการขุดทำหนอง นำมาทำเป็นโคก โดยปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ทั้งพืช ผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกินพอใช้ พอร่มเย็น โดยเริ่มจากการปลูกพืชที่โตไวก่อนอย่าง แค มะรุม ไม้ผล สะเดา กล้วย อ้อย ตามด้วยผักอายุสั้น จากนั้น 1-2 ปี ก็เริ่มปลูกไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง แล้วตามด้วยสมุนไพร ซึ่งปกติแล้วจะปลูกพืชตามแนวความสูง 5 ระดับ ได้แก่
– ไม้หัวใต้ดิน อย่าง ขิง ข่า บุก มันมือเสือ กวาวเครือ ฯลฯ
– ไม้เรี่ยดิน อย่าง ไม้เลื้อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะ รางจืด พริกไทย ฯลฯ
– ไม้เตี้ย ซึ่งเป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ไม่ได้มีความสูงมากอยู่ใต้ไม้สูง และไม้กลางอย่าง มะเขือ พริก ติ้ว เหรียง ผักหวานบ้าน ฯลฯ
– ไม้กลาง โดยจะเป็นต้นไม้ที่ไม่ได้สูงมาก ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่สามารถเก็บกินได้ อย่าง มังคุด มะม่วง กระท้อน ขนุน สะตอ ไผ่ ฯลฯ
– ไม้สูง จะเป็นไม้เรือนยอดสูงที่มีอายุยืนนาน อย่าง ยางนา ตะเคียน เต็ง รัง ฯลฯ

2. หนอง

หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ: ใช้สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งหรือยามจำเป็น และเป็นพื้นที่รับน้ำท่วม โดยสามารถขุดคลองไส้ไก่ เพื่อระบายน้ำรอบๆด้าน ขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชึ่มชื้นลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ นอกจากนี้ ยังสามารถทำฝายทดน้ำ เพื่อให้สามารถเอาไปกักเก็บไว้ภายในพื้นที่นั้นๆได้มากที่สุด เมื่อพื้นที่รอบๆไม่ได้มีการกักเก็บน้ำ น้ำก็จะไหลหลากลงมาภายในหนองน้ำ รวมถึง คลองไส้ไก่ ช่วยให้สามารถใช้ฝายกักเก็บไว้ใช้ในยามหน้าแล้งได้

3. นา

พื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากฟื้นฟูดิน ทำเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆหรือจุลินทรีย์กลับสู่พื้นที่ด้วยการควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า และปลอดสารเคมี ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน นอกจากนี้ยังมีการยกคันนา ให้สูงและกว้างเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูน้ำหลากได้ อีกทั้งยังสามารถปลูกพืชตามคันนาได้ด้วย

เทคนิคการบริหารจัดการโคกหนองนาด้วยตนเอง

1. การบริหารจัดการพื้นที่

โคก หนอง นา โมเดลเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเกษตรกรมีพื้นที่ครอบครอง 10-15 ไร่ ควรจัดสรรพื้นที่ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เช่น 30 เปอร์เซ็นต์แรกใช้สำหรับขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกพืช หรือใช้น้ำที่กินใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ พื้นที่ส่วนที่สอง และสาม 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้ปลูกต้นไม้ ผลไม้ หรือไม้ที่ใช้สอยในครัวเรือน ใช้สร้างบ้านเรือน ทำอุปกรณ์การเกษตร หรือใช้เป็นฟืน ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือโรงเรือน เป็นต้น


ขอบคุณรูปภาพจาก district.cdd.go.th/

 

  • ควรมีการจัดสรรพื้นที่เฉลี่ย 5 ไร่สำหรับการทำนา หรือไร่ข้าวโพด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อครอบครัวทั้งปี 

  • ใช้พื้นที่ 4 ไร่ขุดสระลึก 4 เมตร พิจารณาตามลักษณะพื้นที่ เพื่อให้มีน้ำในปริมาณเพียงพอต่อการใช้ทั้งปี โดยอาจจะเลี้ยงปลา กุ้ง หรือปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉดเพื่อใช้เป็นอาหาร 

  • พื้นที่ 4 ไร่ใช้ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น ไม่ใช้สอย สมุนไพร ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างตามคันนา และบริเวรณโดยรอบ 

  • อีก 2 ไร่ สร้างบ้าน และโรงเรือนสำหรับโรงเห็ด ผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ สร้างรายได้เสริม

การจัดการพื้นที่ 15 ไร่ที่มีฝนตกปานกลาง ไกลจากชลประทาน

 


ขอบคุณรูปภาพจาก district.cdd.go.th/

 

  • ควรมีการจัดสรรพื้นที่เฉลี่ย 5 ไร่สำหรับการทำนา หรือไร่ข้าวโพด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อครอบครัวทั้งปี 

  • ใช้พื้นที่ 3 ไร่ขุดสระลึก 4 เมตร โดยอาจจะเลี้ยงปลา กุ้ง หรือปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉดเพื่อใช้เป็นอาหาร 

  • พื้นที่ 5 ไร่ใช้ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น ไม่ใช้สอย สมุนไพร ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างตามคันนา และบริเวรณโดยรอบ 

  • อีก 2 ไร่ สร้างบ้าน และโรงเรือนสำหรับโรงเห็ด ผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ สร้างรายได้เสริม

2. การบริหารจัดการน้ำ

การบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกตลอดทั้งปีถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งการเพาะปลูก 1 ไร่ควรมี น้ำเพียงพอในการใช้เพื่อการเกษตรไม่ต่ำกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรดังนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ปลูกพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ ต้องมีน้ำใช้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น ขุดสระลึก 4 เมตรบนเนื้อที่ 3 ไร่ สามารถเก็บน้ำได้เต็มสระ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ถ้าน้ำระเหยวันละ 1 ชั่วโมง แต่ละปีฝนไม่ตก 300 วัน น้ำลดลงไป 300 เซนติเมตร เท่ากับ 3 เมตร เหลือปริมาณ 1/4 ของบ่อ หรือเก็บน้ำได้ 4,750 ลูกบาศก์เมตร พอใช้แค่ทำนา 4.75 ไร่ อย่างไรก็ตามการขุดสระก็ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆด้วย

ตะกร้าสินค้า