ลวดหนามคือ เส้นลวดที่นำมาดัดเป็นเกลียว และมีปมหนามที่แหลมคม 3-4 แฉก เส้นลวดทำมาจากโลหะ มีความแข็งแรงทนทาน นิยมนำมาใช้ในการล้อมพื้นที่ล้อมสวนหรือป้องกันผู้บุกรุก รวมไปถึงเป็รั้วบอกเขตแดน ราคาของลวดหนามมีต้นทุนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับรั้วประเภทอื่น การติดตั้งง่ายใช้เวลาติดตั้งไม่นานเพียงติดตั้งเสารั้วตามแนวรั้ว และ ดึงลวดหนามไปตามแนวรั้ว
ลวดหนามและต้นกำเนิดขอลวดหนาม
จุดกำเนิดเริ่มต้นของลวดหนามนั้นไม่ได้มีลักษณะแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ลวดหนามตั้งแต่แรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นเพียงแค่ เส้นลวดบางๆ ยังไม่ได้มี ‘หนาม’ แบบที่เราเห็นในปัจจุบัน เป้าหมายของการสร้างรั้วขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายจากผู้บุกรุก แต่ด้วยความที่ลวดมีความแบนอาจจะทำให้ผู้บุกรุกบาดเจ็บแต่อาจจะไม่มากนัก จนในปี ค.ศ 1800 มีการพัฒนาลวดหนาม เมื่อเกษตรกรกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ รั้วที่มีลักษณะแหลมคมและราคาถูก โดยเริ่มมีการออกแบบใช้ลวดพันกับหนาม หรือเรียกกันว่า “ลวดหนาม” ลักษณะลวดหนามแบบพื้นฐานที่มีหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งานพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมกันมาก รั้วลวดหนามถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้คนและสัตว์เข้าหรือออกจากพื้นที่ ซึ่งอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ และยังเป็นการป้องกันสิ่งอัตรายจากผู้บุกรุกให้ตัวบ้านหรือโรงเรือนได้อีกด้วย
ขนาดและมาตรฐานของลวดหนาม
ขนาดของลวดหนาม มีให้เลือกหลายขนาดด้วยกันตามความต้องการใช้งาน ขนาดของลวดที่เอามาใช้ผลิต ลวดหนาม แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันลวดหนามที่คนนิยมใช้จะเป็นลวดหนามเบอร์ 12-14 โดยมีขนาดเส้นลวดตามตารางดังนี้
จากตารางเทียบขนาดของลวดหนามจะเห็นได้ว่า เบอร์ลวดหนามที่เยอะ ขนาดเส้นลวดจะยิ่งเล็ก ซึ่งหลายคนมีความเข้าใจผิดว่ายิ่งเบอร์ลวดที่เยอะเส้นลวดยิ่งใหญ่ โดยส่วนมากลูกค้าจะเลือกซื้อลวดหนามจากเบอร์หรือขนาดเส้นลวดเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันลวดที่นำมาผลิต มีทั้งลวดทั่วไป และ ลวดแรงดึงสูง ที่ค่อนข้างนิยม เรามาดูกันว่า ลวดแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร และลวดเส้นใหญ่แข็งแรงกว่าลวดเส้นเล็กใช่หรือไม่
ลวดที่ใช้ในการผลิตลวดหนาม
ลวดทั่วไป
ลวดธรรมดาทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาด จะมีตั้งแต่เบอร์ 12-14 ซึ่งมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างหนาแต่จะมีแรงดึงค่อนข้างน้อย ส่วนมากจะรับแรงกระแทกได้ประมาณ 75-90 กิโลกรัม
ลวดแรงดึง
ลวดหนามที่ผลิตลวดแรงดึง จะมีความแข็งแรง ความเหนียว และทนแรงกระแทกได้ดีกว่าลวดทั่วไป ซึ่งเบอร์ลวดที่ผลิตอาจจะเห็นตั้งแต่เบอร์ 14 -15 ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดอาจจะเล็กกว่าลวดทั่วไป แต่ด้วยความเป็นลวดแรงดึง ทำให้ไม่จำเป็นต้องผลิตลวดเส้นใหญ่แถมมีความแข็งแรงกว่าลวดทั่วไปต้นรับแรงกระแทกได้ประมาณ 285 กิโลกรัม
ประเภทของลวดหนาม
1. ลวดหนามการพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)
ลวดหนามการพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional) เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต
2. ลวดหนามหนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)
ลวดหนามหนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist) หนามถูกออกแบบมาพิเศษด้วยเทคโนโลยีล่าสุด การพันหนามแบบไขว้สลับสวนทางกัน ช่วยให้ขึงตึง ไม่หย่อน หนามไม่หลุดง่าย ทนทาน พร้อมเคลือบสีดำ ช่วยเพิ่มความโดดเด่น และดูสวยงามเด่นชัดมากขึ้น ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามที่มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับเข้ามาขายอย่างเช่นแบรนด์ลวดหนามเทวดาและแบรนด์ลวดหนามไวน์แมนเป็นต้น
สารเคลือบกันสนิมแบบไหนทนสนิมกว่า
การเป็นสนิม เกิดขึ้นจากการที่ตัวโลหะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี กับ อากาศ ดิน น้ำ หรือความร้อนทำให้โลหะมีคุณสมบัติเคลือบที่เปลี่ยนไปทั้ง สีเปลี่ยนไป ไม่แข็งแรงอย่างเคย หรือเกิดการผุและพัง ปัญหาเรื่องสนิมกัดกินรั้ว เป็นปัญหาที่หลายๆท่านเจอบ่อย ปัจจุบันแบรนด์ที่ผลิตรั้วลวดหนาม ได้ทำการผลิตลวดหนามที่มีการเคลือบสารกันสนิม ซึ่งปัจจุบันการเคลือบกันสนิมของรั้วลวดหนามมี 2 แบบคือ การชุบซิงค์แบบแบบไฟฟ้าและการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน
1. การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)
การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating) เป็นการใช้ไฟฟ้าช่วยในการทำให้ซิงค์ (Zn) มาเคลือบผิวของลวดหนามไว้ เพื่อยืดระยะเวลาในการเกิดสนิม ซึ่งการชุบแบบไฟฟ้า จะชุบซิงค์เพียง 20 กรัม ส่วนใหญ่วิธีการชุบแบบไฟฟ้าจะพบได้ในลวดหนามทั่วไปที่ผลิตในประเทศไทย โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 6 เดือน จะเริ่มเกิดสนิม
2. การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)
การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized) เป็นการเคลือบผิวลวดด้วยสารกันสนิม โดยการ จุ่มลวดลงในอ่างสังกะสีเหลวที่มีอุณหภูมิความร้อน และเวลาในบ่อซิงค์ที่พอเหมาะ จะทำให้ซิงค์เคลือบลวดหนากว่าการชุบซิงค์แบบไฟฟ้า ลวดหนามที่ผ่านการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน จะมีอายุการใช้งานนานและทนสนิมได้ดี ทั้งนี้ปริมาณการชุบตั้งแต่ 40 กรัมขึ้นไป ถ้าชุบซิงค์หนายิ่งเพิ่มอายุการใช้งานนานขึ้น แบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีการชุบซิงค์หนาพิเศษ ชุบหนากว่า 12 เท่า มาตรฐาน AS/NZs เพิ่มอายุการใช้งานนาน 30 ปี นอกจากนี้ การชุบซิงค์แบบผสมอลูมิเนียม
ลวดหนามยี่ห้อไหนดี ?
การที่เราจะเลือกล้อมรั้วไม่ว่าจะเป็นรั้วประเภทไหน แน่นอนว่าเราอยากได้รั้วที่มีคุณภาพ ลวดหนาม เป็นรั้วที่มีความนิยมและเลือกใช้งานมากที่สุด ซึ่งลวดหนามในท้องตลาดมีหลากหลายแบรนด์ หลากหลายยี่ห้อ เราจะเลือกลวดหนามที่ดีที่มีคุณภาพได้อย่างไร ดังนั้นเราต้องเลือกลวดหนาม จากคุณภาพเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงของเส้นลวด ความทนทาน และที่สำคัญต้องทนสนิม เพื่อให้คุ้มค่าต่อการใช้งานในระยะยาว รวมถึงราคา งบประมาณค่าใช้จ่ายต้องคุ้มค่าที่สุด เรื่องความยาวของลวดหนามที่จะเลือกซื้อก็สำคัญเพราะลวดหนามบางแบรด์จะขายกันเป็นกิโลทำให้ยากคำนวณพื้นการติดตั้งเพราะลวดหนามที่ขายเป็นกิโล ความยาวของลวดหนามจะไม่แน่นอน แต่ในปัจจุบันมีแบรนด์ลวดไวน์แมนและลวดเทวดามีลวดหนามขายเป็นความยาว ทั้งความยาว 50 และ 100 เมตร ทำให้ง่ายต่อการคำนวณพื้นที่การติดตั้งทำให้การติดตั้งลวดหนามของท่านประหยัดต้นทุนอีกด้วย
คุณสมบัติ
เบอร์ลวด
ลวดหนามไวน์แมน
15
ลวดหนามเทวดา
14
ลวดหนามทั่วไป
14-15
ลักษณะลวด
1.8 มม.
2.0 มม.
1.8 – 2.0 มม.
ขนาดลวด
ลวดแรงดึงสูง
ลวดแรงดึงสูง
ลวดธรรมดา
การรับแรง
285 กก.
160 กก.
75-90 กก.
ลักษณะของหนาม
หนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)
หนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)
หนามพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)
การชุบกันสนิม
ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)
ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)
ลวดชุบซิงค์ (Zn) การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)
ระยะห่างการตั้งเสา
ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)
ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)
ลวดชุบซิงค์ (Zn) การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)
ความยาว
100 เมตร
50 – 100 เมตร
ความยาวไม่แน่นอน
1. ลวดหนามเทวดา
คุณสมบัติของลวดหนามเทวดา
- ชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนอย่างหนา ตามมาตรฐานออสเตรเลีย (AS/NZs) อายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี
- แข็งแรงกว่าลวดหนามทั่วไป เส้นลวดพันเกลียว 7 เกลียวระหว่างหนามทำให้ขึงได้ตึง ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย
- เกลียวหนามพันแบบไขว้สลับสวนทาง (Reverse Twist) ทำให้เกลียวหนามแข็งแรง แน่น ไม่หลุดง่าย
- ขนาดเส้นลวดเบอร์ 14
- สามารถตั้งเสาห่างกันได้ 2-2.5 เมตรต่อ 1 ต้น
2. ลวดหนามไวน์แมน
คุณสมบัติของลวดหนามไวน์แมน
- ชุบซิงค์ผสมอลูมิเนียม10% ทนสนิมอายุการใช้งานนานกว่า 80 ปี
- ผลิตจากลวดแรงดึงสูง เหนียว ทนแรงกระแทกดี ไม่ขาดง่าย
- เกลียวหนามพันแบบไขว้สลับสวนทาง (Reverse Twist)ทำให้เกลียวหนามแข็งแรง แน่น ไม่หลุดง่าย
- เกลียวหนาม เพิ่มการเคลือบสีดำ เพื่อป้องกันสนิมได้มากขึ้น
- ประหยัดเสา ระยะห่าง 4 เมตร/ต้น
การติดตั้งลวดหนาม
อุปกรณ์ติดตั้งลวดหนาม
รอกสลิงมือโยก
คีมปากตาย
ลวดชุบทนสนิม
คีมตัดลวด
ขั้นตอนการติดตั้งลวดหนาม
- ตั้งเสารั้วตามแนวที่ต้องการ ให้มีระยะห่างของเสาอยู่ที่ 2.5-4เมตร/ต้น(ขึ้นอยู่กับประเภทลวด)
- เริ่มจากการแกะลวดหนามออกจากตัวม้วน
- นำปลายลวดหนามที่แกะออกมาผูกกับเสาต้นแรกให้แข็งแรง
- นำไม้ท่อนใหญ่เข้าไปสอดในรูของม้วนลวดหนามและดึงจากต้นแรกจนถึงระยะที่เราต้องการ
- ดึงลวดหนามให้ตึงโดยใช้รอกสลิงมือโยก ในการทำให้ตึง
- ตัดลวดมาผูกกับเสาต้นสุดท้ายให้แน่น แล้วจึงใช้ลวดชุบกันสนิมมัดลวดหนามยึดติดกับเสาให้แน่น
ข้อควรระวังในการทำรั้วลวดหนาม
- สวมอุปกรณ์ป้องกัน ก่อนการติดตั้งทุกครั้ง เช่น ถุงมือ กางเกงขายาวทุกครั้งเนื่องจากลวดหนามมีลักษณะคม อาจทำ ให้เกิดบาดแผลได้
พบกับเทคนิคและความรู้ดีๆ ได้ที่: เกษตรเล่าเรื่อง