ลวดหนาม คืออะไร?

ลวดหนามคือ เส้นลวดที่นำมาดัดเป็นเกลียว และมีปมหนามที่แหลมคม 3-4 แฉก เส้นลวดทำมาจากโลหะ มีความแข็งแรงทนทาน  นิยมนำมาใช้ในการล้อมพื้นที่ล้อมสวนหรือป้องกันผู้บุกรุก รวมไปถึงเป็รั้วบอกเขตแดน ราคาของลวดหนามมีต้นทุนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับรั้วประเภทอื่น การติดตั้งง่ายใช้เวลาติดตั้งไม่นานเพียงติดตั้งเสารั้วตามแนวรั้ว และ ดึงลวดหนามไปตามแนวรั้ว

 

ลวดหนามและต้นกำเนิดขอลวดหนาม

จุดกำเนิดเริ่มต้นของลวดหนามนั้นไม่ได้มีลักษณะแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน แต่ลวดหนามตั้งแต่แรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นเพียงแค่ เส้นลวดบางๆ ยังไม่ได้มี ‘หนาม’ แบบที่เราเห็นในปัจจุบัน เป้าหมายของการสร้างรั้วขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายจากผู้บุกรุก แต่ด้วยความที่ลวดมีความแบนอาจจะทำให้ผู้บุกรุกบาดเจ็บแต่อาจจะไม่มากนัก  จนในปี ค.ศ 1800 มีการพัฒนาลวดหนาม  เมื่อเกษตรกรกำลังมองหาผลิตภัณฑ์  รั้วที่มีลักษณะแหลมคมและราคาถูก โดยเริ่มมีการออกแบบใช้ลวดพันกับหนาม หรือเรียกกันว่า “ลวดหนาม” ลักษณะลวดหนามแบบพื้นฐานที่มีหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งานพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมกันมาก รั้วลวดหนามถูกนำมาใช้เพื่อไม่ให้คนและสัตว์เข้าหรือออกจากพื้นที่ ซึ่งอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ และยังเป็นการป้องกันสิ่งอัตรายจากผู้บุกรุกให้ตัวบ้านหรือโรงเรือนได้อีกด้วย

ขนาดและมาตรฐานของลวดหนาม

ขนาดของลวดหนาม   มีให้เลือกหลายขนาดด้วยกันตามความต้องการใช้งาน ขนาดของลวดที่เอามาใช้ผลิต ลวดหนาม แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันลวดหนามที่คนนิยมใช้จะเป็นลวดหนามเบอร์ 12-14 โดยมีขนาดเส้นลวดตามตารางดังนี้

จากตารางเทียบขนาดของลวดหนามจะเห็นได้ว่า เบอร์ลวดหนามที่เยอะ ขนาดเส้นลวดจะยิ่งเล็ก ซึ่งหลายคนมีความเข้าใจผิดว่ายิ่งเบอร์ลวดที่เยอะเส้นลวดยิ่งใหญ่ โดยส่วนมากลูกค้าจะเลือกซื้อลวดหนามจากเบอร์หรือขนาดเส้นลวดเป็นหลัก  ซึ่งปัจจุบันลวดที่นำมาผลิต มีทั้งลวดทั่วไป และ ลวดแรงดึงสูง ที่ค่อนข้างนิยม เรามาดูกันว่า ลวดแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร และลวดเส้นใหญ่แข็งแรงกว่าลวดเส้นเล็กใช่หรือไม่

ลวดที่ใช้ในการผลิตลวดหนาม

ลวดทั่วไป

ลวดธรรมดาทั่วไปที่มีขายตามท้องตลาด จะมีตั้งแต่เบอร์ 12-14  ซึ่งมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างหนาแต่จะมีแรงดึงค่อนข้างน้อย ส่วนมากจะรับแรงกระแทกได้ประมาณ 75-90 กิโลกรัม

ลวดแรงดึง

ลวดหนามที่ผลิตลวดแรงดึง จะมีความแข็งแรง ความเหนียว และทนแรงกระแทกได้ดีกว่าลวดทั่วไป ซึ่งเบอร์ลวดที่ผลิตอาจจะเห็นตั้งแต่เบอร์ 14 -15 ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดอาจจะเล็กกว่าลวดทั่วไป แต่ด้วยความเป็นลวดแรงดึง ทำให้ไม่จำเป็นต้องผลิตลวดเส้นใหญ่แถมมีความแข็งแรงกว่าลวดทั่วไปต้นรับแรงกระแทกได้ประมาณ 285 กิโลกรัม

ประเภทของลวดหนาม

1. ลวดหนามการพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)

ลวดหนามการพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional) เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต

2. ลวดหนามหนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)

ลวดหนามหนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist) หนามถูกออกแบบมาพิเศษด้วยเทคโนโลยีล่าสุด การพันหนามแบบไขว้สลับสวนทางกัน ช่วยให้ขึงตึง ไม่หย่อน หนามไม่หลุดง่าย ทนทาน พร้อมเคลือบสีดำ ช่วยเพิ่มความโดดเด่น และดูสวยงามเด่นชัดมากขึ้น ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามที่มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับเข้ามาขายอย่างเช่นแบรนด์ลวดหนามเทวดาและแบรนด์ลวดหนามไวน์แมนเป็นต้น

สารเคลือบกันสนิมแบบไหนทนสนิมกว่า

การเป็นสนิม เกิดขึ้นจากการที่ตัวโลหะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี กับ อากาศ ดิน น้ำ หรือความร้อนทำให้โลหะมีคุณสมบัติเคลือบที่เปลี่ยนไปทั้ง สีเปลี่ยนไป ไม่แข็งแรงอย่างเคย หรือเกิดการผุและพัง ปัญหาเรื่องสนิมกัดกินรั้ว เป็นปัญหาที่หลายๆท่านเจอบ่อย ปัจจุบันแบรนด์ที่ผลิตรั้วลวดหนาม ได้ทำการผลิตลวดหนามที่มีการเคลือบสารกันสนิม ซึ่งปัจจุบันการเคลือบกันสนิมของรั้วลวดหนามมี 2 แบบคือ การชุบซิงค์แบบแบบไฟฟ้าและการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน

1. การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)

การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating) เป็นการใช้ไฟฟ้าช่วยในการทำให้ซิงค์ (Zn) มาเคลือบผิวของลวดหนามไว้ เพื่อยืดระยะเวลาในการเกิดสนิม ซึ่งการชุบแบบไฟฟ้า จะชุบซิงค์เพียง 20 กรัม ส่วนใหญ่วิธีการชุบแบบไฟฟ้าจะพบได้ในลวดหนามทั่วไปที่ผลิตในประเทศไทย โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ย อยู่ที่ประมาณ 6 เดือน จะเริ่มเกิดสนิม

2. การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)

การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized) เป็นการเคลือบผิวลวดด้วยสารกันสนิม โดยการ จุ่มลวดลงในอ่างสังกะสีเหลวที่มีอุณหภูมิความร้อน และเวลาในบ่อซิงค์ที่พอเหมาะ จะทำให้ซิงค์เคลือบลวดหนากว่าการชุบซิงค์แบบไฟฟ้า ลวดหนามที่ผ่านการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน จะมีอายุการใช้งานนานและทนสนิมได้ดี ทั้งนี้ปริมาณการชุบตั้งแต่ 40 กรัมขึ้นไป ถ้าชุบซิงค์หนายิ่งเพิ่มอายุการใช้งานนานขึ้น แบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีการชุบซิงค์หนาพิเศษ ชุบหนากว่า 12 เท่า มาตรฐาน AS/NZs เพิ่มอายุการใช้งานนาน 30 ปี นอกจากนี้ การชุบซิงค์แบบผสมอลูมิเนียม

ลวดหนามยี่ห้อไหนดี ?

การที่เราจะเลือกล้อมรั้วไม่ว่าจะเป็นรั้วประเภทไหน  แน่นอนว่าเราอยากได้รั้วที่มีคุณภาพ ลวดหนาม เป็นรั้วที่มีความนิยมและเลือกใช้งานมากที่สุด ซึ่งลวดหนามในท้องตลาดมีหลากหลายแบรนด์ หลากหลายยี่ห้อ เราจะเลือกลวดหนามที่ดีที่มีคุณภาพได้อย่างไร ดังนั้นเราต้องเลือกลวดหนาม จากคุณภาพเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงของเส้นลวด ความทนทาน และที่สำคัญต้องทนสนิม  เพื่อให้คุ้มค่าต่อการใช้งานในระยะยาว รวมถึงราคา งบประมาณค่าใช้จ่ายต้องคุ้มค่าที่สุด เรื่องความยาวของลวดหนามที่จะเลือกซื้อก็สำคัญเพราะลวดหนามบางแบรด์จะขายกันเป็นกิโลทำให้ยากคำนวณพื้นการติดตั้งเพราะลวดหนามที่ขายเป็นกิโล ความยาวของลวดหนามจะไม่แน่นอน แต่ในปัจจุบันมีแบรนด์ลวดไวน์แมนและลวดเทวดามีลวดหนามขายเป็นความยาว ทั้งความยาว 50 และ 100 เมตร ทำให้ง่ายต่อการคำนวณพื้นที่การติดตั้งทำให้การติดตั้งลวดหนามของท่านประหยัดต้นทุนอีกด้วย

คุณสมบัติ​

เบอร์ลวด

ลวดหนามไวน์แมน​​

15

ลวดหนามเทวดา

14

ลวดหนามทั่วไป

14-15

ลักษณะลวด​

1.8 มม.​

2.0 มม.​

1.8 – 2.0 มม.​

ขนาดลวด​

ลวดแรงดึงสูง​

ลวดแรงดึงสูง​

ลวดธรรมดา

การรับแรง

285 กก.​

160 กก.​

75-90 กก.​

ลักษณะของหนาม

หนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)​

หนามพันไขว้สลับสวนทาง (Reversed Twist)​

หนามพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)​

การชุบกันสนิม

ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)​

ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)​

ลวดชุบซิงค์ (Zn) การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)​

ระยะห่างการตั้งเสา​

ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)​

ลวดชุบซิงค์อลู (ZnAl) การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized)​

ลวดชุบซิงค์ (Zn) การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electroplating)​

ความยาว​

100 เมตร​

50 – 100 เมตร​

ความยาวไม่แน่นอน​

1. ลวดหนามเทวดา

คุณสมบัติของลวดหนามเทวดา

  • ชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนอย่างหนา ตามมาตรฐานออสเตรเลีย (AS/NZs) อายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี
  • แข็งแรงกว่าลวดหนามทั่วไป เส้นลวดพันเกลียว 7 เกลียวระหว่างหนามทำให้ขึงได้ตึง ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย
  • เกลียวหนามพันแบบไขว้สลับสวนทาง (Reverse Twist) ทำให้เกลียวหนามแข็งแรง แน่น ไม่หลุดง่าย
  • ขนาดเส้นลวดเบอร์ 14
  • สามารถตั้งเสาห่างกันได้ 2-2.5 เมตรต่อ 1 ต้น

2. ลวดหนามไวน์แมน

คุณสมบัติของลวดหนามไวน์แมน

  • ชุบซิงค์ผสมอลูมิเนียม10% ทนสนิมอายุการใช้งานนานกว่า 80 ปี
  • ผลิตจากลวดแรงดึงสูง เหนียว ทนแรงกระแทกดี ไม่ขาดง่าย
  • เกลียวหนามพันแบบไขว้สลับสวนทาง (Reverse Twist)ทำให้เกลียวหนามแข็งแรง แน่น ไม่หลุดง่าย
  • เกลียวหนาม เพิ่มการเคลือบสีดำ เพื่อป้องกันสนิมได้มากขึ้น
  • ประหยัดเสา ระยะห่าง 4 เมตร/ต้น 

การติดตั้งลวดหนาม

อุปกรณ์ติดตั้งลวดหนาม

รอกสลิงมือโยก

คีมปากตาย​

ลวดชุบทนสนิม​

คีมตัดลวด

ขั้นตอนการติดตั้งลวดหนาม

  • ตั้งเสารั้วตามแนวที่ต้องการ ให้มีระยะห่างของเสาอยู่ที่ 2.5-4เมตร/ต้น(ขึ้นอยู่กับประเภทลวด)
  • เริ่มจากการแกะลวดหนามออกจากตัวม้วน
  • นำปลายลวดหนามที่แกะออกมาผูกกับเสาต้นแรกให้แข็งแรง
  • นำไม้ท่อนใหญ่เข้าไปสอดในรูของม้วนลวดหนามและดึงจากต้นแรกจนถึงระยะที่เราต้องการ
  • ดึงลวดหนามให้ตึงโดยใช้รอกสลิงมือโยก ในการทำให้ตึง
  • ตัดลวดมาผูกกับเสาต้นสุดท้ายให้แน่น แล้วจึงใช้ลวดชุบกันสนิมมัดลวดหนามยึดติดกับเสาให้แน่น

ข้อควรระวังในการทำรั้วลวดหนาม

  • สวมอุปกรณ์ป้องกัน ก่อนการติดตั้งทุกครั้ง เช่น ถุงมือ กางเกงขายาวทุกครั้งเนื่องจากลวดหนามมีลักษณะคม อาจทำ ให้เกิดบาดแผลได้

พบกับเทคนิคและความรู้ดีๆ ได้ที่: เกษตรเล่าเรื่อง

ตะกร้าสินค้า